Last updated: 27 ม.ค. 2564 | 2228 จำนวนผู้เข้าชม |
บรรจุภัณฑ์ที่เป็นกล่องกระดาษนั้นมีอยู่มากมายหลายชนิด มีการออกแบบให้สวยงามเหมาะสมกับการใช้งานแตกต่างกันออกไป มีการนำเทคนิคต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นรูป การพิมพ์ลาย การปั๊ม การเคลือบต่าง ๆ เข้ามาใช้กับการทำบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องกระดาษ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ มูลค่า และความสวยงามให้กับบรรจุภัณฑ์กันมากขึ้น
นอกจากนี้ยังมีการนำกระดาษชนิดต่าง ๆ มาใช้ในการทำกล่องกระดาษ ไม่ว่าจะเป็นกระดาษลูกฟูก กระดาษอาร์ต กระดาษแข็ง เป็นต้น อีกทั้งยังมีการออกแบบให้มีลูกเล่นการใช้งานที่แตกต่างกันออกไป ไม่ว่าจะเป็นกล่องแบบมีฝาครอบ กล่องมีฝาปิดเปิดได้ กล่องสไลด์ กล่องเจาะหน้าต่าง กล่องไดคัท กล่องแบบมีหูหิ้ว ซึ่งกล่องกระดาษหูหิ้วนั้น ปัจจุบันนี้นิยมนำมาเป็นกล่องบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์หลายชนิด ที่ต้องการเพิ่มความสวยงาม และเพิ่มฟังก์ชันความสะดวกสบายในการเคลื่อนย้ายพกพา สามารถหิ้วหรือยกไปไหนมาไหนได้โดยสะดวก
กล่องกระดาษหูหิ้ว นิยมนำมาใช้เป็นบรรจุภัณฑ์ให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ค่อนข้างหลากหลาย ตั้งแต่กล่องที่เป็นบรรจุภัณฑ์สำหรับขนส่ง ไปจนถึงกล่องบรรจุภัณฑ์ทั่วไป เช่น กล่องขนมเค้ก คุกกี้ ผลไม้ กล่องของขวัญ กล่องสำหรับใส่สัตว์ ตลอดจนสินค้าไอทีต่าง ๆ อีกด้วย
กล่องกระดาษหูหิ้ว คืออะไร?
กล่องกระดาษหูหิ้ว เป็นกล่องที่มีลักษณะเฉพาะตัวก็คือ ด้านบนของกล่อง จะมีหูหิ้วไว้สำหรับหยิบจับ อาจทำการไดคัทเพื่อให้เป็นรูปทรงขึ้นมา หรือใช้พลาสติก ริบบิ้น หรือวัสดุต่าง ๆ ใส่เข้าไปเพื่อทำเป็นหูหิ้ว เพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ในกล่องได้โดยสะดวก ไม่ต้องหาถุงมาใส่อีกให้ยุ่งยาก นอกจากนี้ การออกแบบหูหิ้วที่ดูแปลกตา สวยงาม มีความคิดสร้างสรรค์ ก็จะยิ่งทำให้บรรจุภัณฑ์ดูโดดเด่นสะดุดตาขึ้นมาได้อีก เทคนิคการใช้หูหิ้วนี้ สามารถนำไปใช้กับกล่องได้หลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นกล่องกระดาษแบบเจาะหน้าต่าง กล่องสไลด์ หรือกล่องกระดาษแข็งธรรมดา กล่องจั่วปัง เป็นต้น เมื่อมีหูหิ้วเพิ่มเข้ามา ก็จะทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ดูมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมาทันที โดยเฉพาะสินค้าไอที เช่นคอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค มักจะใส่หูหิ้วพลาสติกลงบนกล่อง เพื่อเพิ่มความสะดวกในการเคลื่อนย้ายพกพา หรือจะเป็นกล่องขนมต่าง ๆ เช่น เค้ก คุกกี้ ขนมปัง เมื่อนำมาใส่ในบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกล่องหูหิ้ว ก็จะทำให้ดูสวยงาม น่าซื้อมากยิ่งขึ้น เนื่องจากหิ้วสะดวก และสวยแปลกตากว่ากล่องแบบธรรมดานั่นเอง
กระดาษแบบไหน ใช้ทำกล่องหูหิ้ว?
กระดาษที่นิยมนำมาใช้ทำกล่องเจาะหน้าต่าง ได้แก่
– กระดาษกล่องแข็ง แบ่งออกเป็น กระดาษกล่องขาวไม่เคลือบ โดยสีขาวของกระดาษจะมีลักษณะไม่สม่ำเสมอ มีเนื้อหยาบ แต่ราคาถูกกว่า ต้องพิมพ์ด้วยระบบธรรมดา เช่น กล่องใส่รองเท้า กล่องใส่ขนมจัดเบรค เป็นต้น และอีกแบบคือ กระดาษกล่องขาวเคลือบ นิยมใช้ทำบรรจุภัณฑ์เพื่อบรรจุสินค้าอุปโภคและบริโภคกันมาก เนื่องจากสามารถพิมพ์ระบบออฟเซ็ทได้ พิมพ์สอดสีได้หลายสีสวยงาม ทำให้สินค้าที่บรรจุภายในกล่องดูมีมูลค่ามากขึ้น เรียกอีกชื่อว่ากระดาษแข็งเทา – ขาวนั่นเอง ในการทำกล่องบรรจุผลิตกัณฑ์อาหารมักนิยมใช้กระดาษชนิดนี้เพราะหาซื้อง่าย
– กล่องกระดาษลูกฟูก เป็นกระดาษที่ใช้ทำบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องกระดาษที่ให้คุณลักษณะที่มีความแข็งแรงมาก นิยมใช้ในการขนส่งสินค้า ช่วยป้องกันสินค้าให้ปลอดภัย สามารถออกแบบได้ตามความต้องการ ทั้งขนาด รูปลักษณะ อีกทั้งยังพิมพ์สอดสีได้สวยงาม โดยในการใช้งานมักจะทำเป็นกล่องกระดาษลูกฟูก 2 ชั้น ,3 ชั้น และ กล่องกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น สามารถทำเป็นกล่องไดคัท กล่องเจาะหน้าต่าง และสามารถทำกล่องกระดาษลูกฟูก พิมพ์แบบออฟเซ็ท เพื่อให้ตัวกล่องมีความแข็งแรงพิเศษและยังได้งานพิมพ์ที่มีความสวยงามอีกด้วย
– กระดาษกล่องเคลือบพีอีกระดาษประเภทนี้จะมีการเคลือบสารสีขาว (ดินขาว) หรือวัสดุพิเศษ แล้วผ่านการขัดมันเพื่อให้ผิวหน้าเรียบ ผิวด้านในมีการประกบกับฟิล์ม PE เพื่อให้สามารถกันน้ำหรือไขมันได้ มีคุณสมบัติพิมพ์สอดสีได้สวยงาม นิยมใช้ทำกล่องบรรจุภัณฑ์อาหารแช่แข็ง หรือขนมขบเคี้ยว เช่น คุกกี้ เป็นต้น
– กระดาษกล่องเคลือบผิวอะลูมิเนียม กระดาษประเภทนี้จะมีการเคลือบสารสีขาว (ดินขาว) หรือวัสดุพิเศษ แล้วผ่านการขัดมันเพื่อให้ผิวหน้าเรียบ มีการประกบพลาสติกที่เคลือบด้วยไออะลูมิเนียม (metallized film) เพื่อให้มันเงาสวยงามเหมาะสำหรับใช้ทำกล่องบรรจุอาหารหรือผลิตภัณฑ์ที่มีราคาสูง- กระดาษคราฟท์ (Kraft Paper) ลักษณะโดยทั่วไปของกระดาษคราฟท์นั้นจะมีเนื้อหยาบ มีสีน้ำตาลตามสีของเนื้อไม้ที่นำมาทำเยื่อกระดาษ แต่บางชนิดก็จะมีสีขาว เพราะใช้เยื่อฟอกขาวหรืออาจมีสีอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตและความต้องการของตลาด นิยมนำมาทำเป็นกระดาษปิดผิวกระดาษแข็งหรือกระดาษลูกฟูก ปัจจุบันกล่องกระดาษคราฟท์นั้นเป็นที่นิยมมาก เพราะให้สีสันที่ดูเป็นธรรมชาติ เรียบง่าย แต่ก็ดูหรูหรามีรสนิยมนั่นเอง
9 ม.ค. 2563
14 มิ.ย. 2565
28 ต.ค. 2564
19 พ.ค. 2565